voip

food

microorganism

microorganism
DD

อาหาร

อาหาร
ประโยชน์

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

บอระเพ็ด




ชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook. F & Thoms.
วงศ์ Menispermaceae
ชื่อท้องถิ่น เครือเขาฮอ จุ่งจิง (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม (หนองคาย)หางหมู คัวเตมูลยาน (สระบุรี)
ลักษณะของพืช » บอระเพ็ดเป็นไม้เลื้อย มีปุ่มตามลำต้นกระจายอยู่โดยทั่วไปในรูปเหมือนใบโพธิ ดอกออกเป็ยช่อ ขนาดเล็กมากสีเหลืองอมเขียว

การปลูก » ช้เถาปักชำ ขึ้นได้ในดินทั่วไปชอบดินร่วนซุย ควรปลูกในหน้าฝน

วิธีปลูก » ทำได้โดยตัดเถาแก่ให้ยาวประมาณ 1 คืบ ชำลงในดินให้เอียงเล็กน้อย ต้องทำค้างให้ต้นเลื้อยได้ด้วย

ส่วนที่ใช้เป็นยา » เถาหรือลำต้นสด

ช่วงเวลาที่เก็บยา » เก็บเถาแก่

รสและสรรพคุณยาไทย »
รสขมจัด เย็น มีสรรพคุณระงับความร้อน แก้ไข้ทุกชนิด ช่วยเจริญอาหารได้ดี

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ »
ต้นบอระเพ็ดมีสารเคมีคือ N-trans- feruloyltyramine ,N-cis-feruloyltyramine Picroretin ยังไม่มีการศึกษาฤทธิ์แก้ไข้ของบอระเพ็ดปัจจุบันบอระเพ็ดใช้เป็นยา "เยนเชียน"เพื่อเป็นยาเจริญอาหารเนื่องจากความขมของบอระเพ็ดนั้นเอง

วิธีใช้ »
อาการไข้ ใช้เถาหรือต้นบอระเพ็ดสด ครั้งละ 2 คืบครึ่งโขลกแล้วคั้นเอาน้ำมาดื่ม หรือเอาไปต้มกับน้ำ โดยใช้น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วนดื่มก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นหรือเวลาที่มีอาการ

ฟ้าทะลายโจร




ฟ้าทะลายโจร
ชื่อวิทยาศาสตร์ Andrographis paniculata (Burm. F) Wall. ex Nees
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่ออื่น ๆ ฟ้าทะลาย , น้ำลายพังพอน, หญ้ากันงู, สามสิบดี, คีปังฮี, ซีปังกี, ชวนซินเหลียน, ชวงซิมไน้ , ยากันงู, ฟ้าลาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน, สามสิบดี, ฉีกะฉาว, Creat, Green chireta, Kalmegh, King of bitters, Kirayat,
ส่วนที่ใช้ ส่วนเหนือดิน หรือ ใบ
ฟ้าทะลายโจร ยาที่มีความหมายในตัวเองไม่น้อย เพราะแม้แต่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าฟ้าประทานมาให้ปราบโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเสมือน เหล่า โจรร้าย ส่วนในภาษาจีนกลาง ยาตัวนี้มีชื่ออย่างเพราะพริ้งว่า "ชวนซิเหลียน" แปลว่า "ดอกบัวอยู่ในหัวใจ" ซึ่งมีความหมายสูงส่งมาก วงการ แพทย์จีนได้ยก ฟ้าทะลายโจรขึ้นทำเนียบ เป็นยาตำราหลวงที่มีสรรพคุณโดดเด่นมากตัวหนึ่ง ที่สำคัญคือสามารถใช้เป็นยาเดี่ยวเพียงตัวเดียวก็มี ฤทธิ์แรงพอ ที่จะรักษาโรคได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในสมุนไพรตัวอื่น
สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด และเสริมภูมิต้านทานดีกว่าการใช้ ยาปฏิชีวนะในคนที่เป็นหวัดบ่อยๆ ร้อนในบ่อยๆ เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ภูมิต้านทานอ่อนลง การรับประทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรจะช่วย กระตุ้น ภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่เป็นหวัดง่าย ร้อนในจะหายไป และสมุนไพรฟ้าทะลายโจรดีกว่ายาปฏิชีวนะ ตรงที่ไม่เกิดการง่วงนอน ไม่เกิดการดื้อยา และยัง ป้องกันตับ จากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วง แดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น
การปลูก ทำได้หลายวิธีได้แก่ 1. แบบหว่าน สิ้นเปลืองเมล็ด ให้ผลผลิตน้อย 2. แบบโรยเมล็ดเป็นแถว ประมาณ 50-100 เมล็ด ต่อ ความยาวร่อง 1 เมตร 3. แบบหยอดหลุม ระยะระหว่างต้น 20-30 ซม. ระหว่างแถว 40 ซม. หยอดเมล็ดหลุมละ 5-10 เมล็ด 4. ปลูกโดยใช้กล้า ให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าการปลูกโดย 3 วิธีแรก
การเก็บเกี่ยว ช่วงที่พืชออกดอกนับตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50 % เพื่อให้มีปริมาณสารสำคัญสูง ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110-150 วัน
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การทำความสะอาด นำฟ้าทะลายโจรมาล้างน้ำให้สะอาดตัดให้มีความยาว 3-5 ซม. ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาเกลี่ยบนกระด้งหรือถาดที่สะอาดการทำให้แห้ง อบที่อุณหภูมิ 50 C. ใน 8 ชั่วโมงแรก ต่อไปใช้อุณหภูมิ 40-50 C. อบจนแห้งสนิท หรือตากแดดจนแห้งสนิท ควรคลุมภาชนะด้วยผ้าขาวบาง
สารสำคัญ ส่วนเหนือดินฟ้าทะลายโจร มีสารสำคัญจำพวกไดเทอร์ปีนแลคโตน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) นีโอแอนโดกราโฟไลด์ (neoandrographolide) ดีออกซีแอนโดกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ดีออกซีไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (deoxy-didehydroandrographolide) วัตถุดิบฟ้าทะลายโจรที่ดีควรมีปริมาณแลคโตนรวมคำนวณเป็นแอนโดรกราโฟไลด์ ไม่ต่ำกว่า 6 % ไม่ควรเก็บวัตถุดิบไว้ใช้นาน ๆ เพราะปริมาณสารสำคัญจะลดประมาณ 25 % เมื่อเก็บไว้ 1 ปี
ผลการศึกษาทางเภสัชวิทยา การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ ทางยาหลายประการ ดังนี้ 1. ฤทธิ์ลดการบีบหรือหดเกร็งตัวของทางเดินอาหาร 2. ฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย โดยทำให้การสูญเสียน้ำทางลำไส้จากสารพิษของแบคทีเรียลดลง 3. ฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ 4. ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 5. ฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซทตามอล หรือเหล้า 6. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 7. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
การรักษาโรค 1. รักษาอาการไข้เจ็บคอ (Pharyngotonsillitis) ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรขนาด 6 กรัม/วัน หรือพาราเซทตามอล 3 กรัม / วัน หายจากไข้ และอาการเจ็บคอได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรขนาด 3 กรัม / วัน อย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 3 หลังรักษา แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ 7
2. การรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดแบคทีเรีย (Bacilliary dysentery) ผู้ ป่วยที่ได้รับฟ้าทะลายโจรทั้งขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง และขนาด 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง เทียบกับยาเตตร้าซัยคลิน พบว่า สามารถสามารถลด จำนวนอุจจาระร่วง (ทั้งความถี่และปริมาณ) และจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนในการรักษาโรคอุจจาระและบิดแบคทีเรียได้อย่างน่าพอใจ ลดการสูญเสียน้ำ ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาเตตร้าชัยคลิน
3. การศึกษาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด (Common cold) ผลการทดลองให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมให้มีปริมาณของแอนโดกราโฟไลด์ และดีออกซีแอนโดรกราไฟไลด์รวมกันไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม /เม็ด ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 เวลา ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด พบว่า วันที่ 2 หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญและในวันที่ 4 หลังได้รับยา ความรุนแรงของทุกอาการได้แก่ อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
4. แก้ไข้ กระเพาะอาหารอักเสบจากเชื้อไวรัส ให้ฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา
5. ไข้ไทฟอยด์ ใช้ฟ้าทะลายโจร 2 เม็ด 3 เวลา ก่อนอาหาร เป็น เวลา ๓ สัปดาห์ หลังจากนั้น ควรกินยาบำรุงฟื้นกำลังผุ้ป่วย ฟ้าทะลายโจร จะทำลายเชื้อไทฟอยด์ ที่ฝังตัว อยู่ในเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง ในผนัง ลำไส้เล็ก ลำไส้ที่เป็นอัมพาตอยุ่เดิม ก็เริ่มทำงาน ฟ้าทะลายโจร ยังเร่งตับ ให้สร้างน้ำดี ช่วยย่อยอาหาร
6. โรคตับ ให้ฟ้าทะลายโจร 2-3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และควร ให้ยาบำรุงร่วมด้วย หลังจากฟื้นไข้แล้ว
7. งูสวัด ให้ฟ้าทะลายโจรกิน 2-3 เม็ดก่อนอาหาร 3 เวลา เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื่องจากงูสวัดเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง จะอยู่นาน 3 สัปดาห์ ถ้าให้ฟ้าทะลายโจร ครบตามเวลา งูสวัดจะไม่กลับมาเป็นอีก ส่วนตุ่ม แผลพุพอง ใช้ยาเสลดพังพอนทา หรือใช้ว่านนาคราช หรือใบจีกรนารายณ์ ตำใส่สุรา ใช้ทาหรือพอกก็ได้
8. แผลโรคเบาหวาน ฟ้าทะลายโจร รักษาแผลอักเสบเนื่องจากเบา หวานได้ เพระาฟ้าทะลายโจร ทำไห้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ใช้ทั้งกิน ทั้งทา
9. ริดสีดวงทวาร ให้กินฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 3 เม็ด ก่อนอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน อาการเลือดออก หรือปวดถ่วงจะหายไป และ ถ่ายได้ สะดวกเป็นปกติ
10.แก้เบาหวาน ใช้ต้นฟ้าทะลายโจร และว่านเอ็นเหลือง กระชาย ทำเป็นยาเม็ดกิน
วิธีการนำไปใช้1.ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ 2.ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทาน ครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน3.ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูป ยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล4.ใช้ในรูปยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในขวดแก้ว แช่ด้วยเหล้าโรงพอท่วมยา ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละครั้ง เมื่อครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร5.ใช้ใบค่อนข้างแก่ประมาณ 1 กำมือ ตำผสมเกลือเล็กน้อย เติมเหล้าครึ่งถ้วยยา น้ำครึ่งช้อนชา คนให้เข้ากันดี รินเอาน้ำดื่ม กากที่เหลือใช้พอกแผล-ฝี แล้วใช้ผ้าสะอาดพันไว้
ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้ 1. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A 2. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบเนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A 3. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค 4. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น
ข้อควรระวัง 1. ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วยบางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร 2. หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง 3. หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์ 4. สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร 5. ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป .
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1,500 – 3,000 มิลลิกรัม ของผงยาวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร 3 เวลา และก่อนนอน (จำนวนเม็ดหรือแคปซูลที่รับประทานแต่ละครั้งให้ ปรับตามขนาดของผงยาที่บรรจุในแต่ละเม็ด)

ขมิ้นชัน




สมุนไพร : ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma loga Linn., Curcuma domestica Valeton. ชื่อวงศ์ Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว, ยากยอ, สะยอ, หมิ้น ส่วนที่ใช้คือ เหง้าสดและแห้ง
ขมิ้นชันมีประโยชน์ และสรรพคุณ หลายประการดังนี้
มีวิตามิน A, C, E เมื่อข้าสู่ร่างกายจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว มีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ
สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร
ช่วยย่อยอาหาร
ทำความสะอาดให้ลำไส้
เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ
ต้านอนุมูลอิสระป้องกันการเกิดมะเร็งในตับ
สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง
กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่กินเข้าไปแล้วสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง
ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ใช้ปรุงอาหารกิน ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากินและยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นชันจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้บางส่วน